คำถามเกี่ยวกับยา
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : บาโคลเฟน (Baclofen)
ยาบาโคลเฟนมีสรรพคุณใช้รักษาและบรรเทาอาการเกร็งกล้ามเนื้ออันมีสาเหตุจากพยาธิสภาพของไขสันหลังและสมอง เช่น ในโรคดิสโทเนีย (Dystonia) และในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งยาบาโคลเฟนมีสรรพคุณใช้รักษาและบรรเทาอาการเกร็งกล้ามเนื้ออันมีสาเหตุจากพยาธิสภาพของไขสันหลังและสมอง เช่น ในโรคดิสโทเนีย (Dystonia) และในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ยาบาโคลเฟนสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ เช่น มีฤทธิ์สงบประสาท/ยาคลายเครียด และทำให้ง่วงนอน วิงเวียน ปวดศีรษะ รู้สึกสับสน ประสาทหลอน ผื่นคันตามผิวหนัง รู้สึกไม่สบายในช่องทางเดินอาหาร และมีปัสสาวะบ่อย
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคลมชัก ผู้ที่มีอาการทางจิตประสาทระยะรุนแรง ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยที่มีภาวการณ์หายใจผิดปกติ (เช่น โรคถุงลมโป่งพอง) ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และเด็ก
- หลีกเลี่ยงการหยุดใช้ยานี้โดยทันทีเพราะอาจเกิดอาการของการถอนยาได้ การหยุดยานี้จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
- การใช้ยาบาโคลเฟนร่วมกับยาลดความดันโลหิตอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นบุคคลไป
- การใช้ยาบาโคลเฟนร่วมกับยา Levodopa ที่ใช้รักษาผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน อาจทำให้เกิดอาการสับสนประสาทหลอน จึงไม่สมควรใช้ยาทั้ง 2 ตัวร่วมกัน